
DRM คือ การจัดการสิทธิดิจิทัล
(Digital Right Management) หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า DRM เป็นคำรวม
ๆที่ใช้อ้างถึงกรรมวิธีทางเทคนิคหลาย ๆ แบบในการควบคุมหรือจำกัดการใช้สื่อดิจิทัล
บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีนี้ลงไป DRM บางครั้งก็เรียกว่า
ระบบการจัดการลิขสิทธิ์อิเล็กทรอนิกส์ สื่อที่นิยมนำเอา DRM มาจำกัดการใช้งานได้แก่
สื่อดนตรี งานศิลปะ และ ภาพยนตร์
การใช้ DRM กับสื่อดิจิทัลก็พื่อป้องกันรายได้ที่อาจจะสูญเสียไปอันเนื่องมาจากการทำซ้ำ
ผลงานลิขสิทธิ์อย่างผิดกฎหมาย
ถึงแม้ว่าการการะทำดังกล่าวจะมีข้อโต้แย้งจากคนบางกลุ่มว่า การ โอนย้ายสิทธิมนการใช้สื่อจากผู้บริโภคไปให้กับผู้จำหน่ายนั้นจะทำให้สิทธิอันชอบธรรมบางประการของผู้ใช้สูญเสียไปก็ตาม
เนื่องจากยังไม่พบว่ามีเทคโนโลยี DRM ใดในปัจจุบันที่จะมีกลไกรักษาสิทธิอันพึงมี
หรือสิทธิการใช้งานอย่างยุติธรรมเลย
คือ ระบบการจัดการสิทธิ์ของผู้ใช้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล
ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดขอบเขตการเข้าถึงของ ผู้ใช้ ผู้ผลิตยังสามารถควบคุมวิธีใช้
แฟ้มที่ได้รับการป้องกันคือแฟ้มที่ใช้ DRM เหมือนกับเป็นการกำหนด
สิทธิ์การเข้าใช้งานสื่อ (ทั้งซอร์ฟแวร์และฮาร์ดแวร์) กล่าวคือ
สิทธิ์ในการใช้งานแฟ้มที่ได้รับการป้องกันด้วย วิธีการเฉพาะเจ้าของผลงาน เช่น
ร้านค้าออนไลน์ การควบคุมเพลงดิจิตอล และแฟ้มวิดีโอที่ใช้ และการกระจาย
ร้านค้าออนไลน์ขาย และเช่ามีป้องกัน DRM เพลงและวิดีโอที่มีสิทธิ์การใช้สื่อเพื่อให้สามารถใช้เฉพาะของเนื้อหา
เพลงที่ได้รับการป้องกันหรือวิดีโอที่ได้รับการป้องกันคือ
เพลงที่ได้รับการป้องกันหรือวิดีโอที่ได้รับการป้องกันเป็นแฟ้มที่ใช้ในการป้องกัน DRM เมื่อต้องการให้มีการป้องกันของเพลงหรือเล่นวิดีโอ
คุณต้องมีสิทธิ์การใช้งานสื่อสำหรับตารางนั้น
DRM ประกอบด้วยส่วนประกอบทางเทคโนโลยีจำนวนหนึ่งซึ่งรวมทั้งมาตรการคุ้มครองทางเทคโนโลยี
โดยทั่วไป DRM จะประกอบด้วยส่วนเข้ารหัสลับ
กลไกการเฝ้าระวังฐานข้อมูล และส่วน จัดใบอนุญาตให้กับเจ้าของและผู้ใช้ ระบบ DRM จะถูกออกแบบให้จัดการสิทธิที่มีความสัมพันธ์กับ
ข้อมูลข่าวสารอย่างอัตโนมัติ
หน้าที่การจัดการนี้สามารถรวบรวมการปกป้องงานลิขสิทธิ์รวมทั้ง
ข่าวสารอื่น
ๆ จากการใช้งานหรือการทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต การแต่งตั้งและการบังคับ
ถึงแม้ว่าการควบคุมการทำซ้ำและการใช้โปรแกรมประยุกต์เป็นสิ่งที่รุ้จักกันดีมาตั้งแต่
ปี 1980 แต่สำหรับคำว่า DRM จะนำไปใช้กับเนื้อหาเชิงศิลปะมากกว่า
และมีความหมายเกินกว่าขอบเขต ของกฎหมายลิขสิทธิ์ทั่วไปที่เน้นไปที่การครอบครองเนื้อหาทางกายภาพเท่านั้น
แต่ DRM จะบังคับให้มีข้อจำกัดอื่นเพิ่มเติมจากดุลพินิจของผู้จำหน่ายเองอีกด้วย
ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะตรงหรือไม่ตรงกับที่มีอยู่ในกฎหมายลิขสิทธิ์ก็ได้
คำว่า
การจัดการสิทธิดิจิทัล หรือ DRM นี้
ตั้งขึ้นโดยผู้ออกแบบโปรแกรมและผู้จำหน่ายสื่อ เพื่ออ้างถึงมาตรการทางเทคนิค
แต่เนื่องจากคำว่า สิทธิ ในที่นี้จริง ๆ
แล้วมันคืออำนาจหรือความสามารถที่เจ้าของเนื้อหาเป็นผู้จัดให้กับผู้ซื้อ
ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งเดียวกับ สิทธิตามกฎหมาย
ที่ผู้บริโภคควรได้รับก็ได้
ดังนั้นนักวิจารณ์ส่วนหนึ่งจึงบอกว่าการใช้วลี การจัดการสิทธิดิจิทัล นั้น
ไม่ถูกต้อง
ในความหมายลักษณะนี้ควรจะใช้คำว่า การจัดการข้อจำกัดดิจิทัล
ซึ่งจะมีนัยตรงกับหน้าที่ของระบบ DRM มากกว่าตัวอย่างที่ DRM ทำเกินกว่าสิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น